สายอาชีพด้านเทคโนโลยีถือว่ายังเป็นอาชีพที่ขาดตลาดอยู่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเมอร์ เทสเตอร์ และสายออกแบบ UX/UI ก็ถือว่าเป็นที่ต้องการสูง ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างคณะสาขาที่เกี่ยวข้อง
• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
• คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
คณะเกี่ยวกับเทคโนโลยีเราจะได้ศึกษาทางด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น งานกราฟิก และยังรวมถึงศาสตร์อื่น ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรและนอกองค์กร เรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี หรือจะเป็นการได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายเชิงประยุกต์ เป็นต้น
ตัวอย่างเส้นทางสู่อาชีพ
• นักพัฒนาเว็บไซต์
• โปรแกรมเมอร์
• นักวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม
• นักโปรแกรมบนมือถือ
• ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
• นักออกแบบกราฟิก
เป็นคณะและสาขาที่ไม่โดนแย่งงาน และมีความเสี่ยงต่ำมาก เพราะไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีหรืออีกกี่ปีในอนาคต สายงานด้านนี้ก็ยังเป็นกลุ่มอาชีพที่ไม่มีวันตกงาน เพราะความต้องการของตลาดทั่วโลกยังไม่เพียงพอ และเป็นสายอาชีพที่เรียนยาก เป็นหลักสูตรเฉพาะทางด้วย
ตัวอย่างคณะสาขาที่เกี่ยวข้อง
• แพทยศาสตร์
• พยาบาลศาสตร์
• ทันตแพทยศาสตร์
• ชีวการแพทย์
• เภสัชศาสตร์
• เทคโนโลยีทางการแพทย์
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ การนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ ได้ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์และสัตว์ การดูแลสุขภาพ เยียวยา รักษาโรคและอาการต่าง ๆ สุขอนามัย โลหิตวิทยา เป็นต้น
ตัวอย่างเส้นทางสู่อาชีพ
• แพทย์
• พยาบาล
• ทันตแพทย์
• สัตวแพทย์
• เภสัชกร
• นักวิชาการสาธารณสุข
• นักกายภาพ
ปัจจุบันการตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมาก จึงทำให้สายงานนี้เป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เริ่มขาดแคลนบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและธุรกิจ และนอกจากจะหางานกับบริษัทต่าง ๆ ได้ง่ายแล้ว ยังสามารถเป็นใบเบิกทางในการริเริ่มทำธุรกิจเป็นของตัวเองได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างคณะสาขาที่เกี่ยวข้อง
• คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดดิจิทัล
• คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาสื่อดิจิทัล
• คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาด
• คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการตลาด
• คณะวิทยาการจัดการ
• คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
เราจะได้ศึกษาเกี่ยวกับตลาดและธุรกิจ ไปจนถึงการสร้างแบรนด์ การศึกษาคู่แข่ง ศึกษาการอุปโภคและบริโภคของลูกค้า การตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ การสร้างรายได้และยอดขาย
ตัวอย่างเส้นทางสู่อาชีพ
• นักวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
• นักการตลาดดิจิทัล
• นักวิจัยตลาด
• ที่ปรึกษาด้านการตลาด
• นักวิชาการด้านการตลาด
• นักจัดกิจกรรมทางการตลาด
• นักการตลาดระหว่างประเทศ
• นักสื่อสารเนื้อหาทางการตลาด
• นักประชาสัมพันธ์
• นักโฆษณา
ในปัจจุบันวงการเกมเริ่มเข้ามามีบทบาทและกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เติบโตไวไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยี หลายบริษัทที่ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเกมจึงต้องการกำลังคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อมาทำงานร่วมกัน ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังที่เกี่ยวกับเกม และที่สำคัญเป็นอาชีพที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ และยังมีคนจบเฉพาะทางอยู่ค่อนข้างน้อย
ตัวอย่างคณะสาขาที่เกี่ยวข้อง
• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ
• วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมและอีสปอร์ต
• คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการเกมและ ESPORT
• วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม
• คณะดิจิทัลมีเดีย สาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาพัฒนาสื่อประสม และเกม
• คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบเกม
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
คณะนี้จะศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนาเกม การแคสติ้ง การคอสเพลย์ การจัดการธุรกิจเกมและอีสปอร์ต นอกจากนี้ยังวิชาที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตโดยตรงด้วย เช่น ความรู้เบื่องต้นอีสปอร์ต ธุรกิจเกมและกีฬาอีสปอร์ต ทฤษฎีเกม ปัญญาประดิษฐ์สำหรับธุรกิจเกมและอีสปอร์ต ฯลฯ
ตัวอย่างเส้นทางสู่อาชีพ
• นักพัฒนาเกม
• นักวิเคราะห์ และออกแบบเกม
• นักออกแบบและพัฒนาโลกเสมือนจริงแบบ 3 มิติ
• ผู้ประกอบการด้านเกม
• นักออกแบบตัวละคร
• ผู้จัดอีเวนต์กีฬาอีสปอร์ต
• นักกีฬาอีสปอร์ต
• ผู้บริหารจัดการทีมอีสปอร์ต
• นักแคสติ้ง
• นักวางแผนเกม
• นักพากย์เกม
• นักทดสอบเกม
• ช่างซ่อมบำรุงเกม
วิศวะเป็นสายงานที่ขึ้นชื่อว่า ถ้าเรียนจบออกมาแล้วสามารถรองรับแรงงานได้ ไม่ตกงานอย่างแน่นอน แต่ในขณะเดียวกันสาขาโลจิสติกส์กับโทรคมนาคมก็กำลังมาแรงไม่แพ้กัน จะเห็นได้ชัดว่าการเติบโตด้านโลจิสติกส์และโทรคมนาคมก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก เพราะการขนส่งที่มีทางเลือกมากขึ้น และยังมีเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังทยอยเปิดอีกหลายเส้นทาง จึงทำให้มีความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย
ตัวอย่างคณะสาขาที่เกี่ยวข้อง
• คณะวิศวกรรมศาสตร์
• คณะวิศวกรรมศาสตร์และโทคโนโลยีอุตสาหกรรม
• คณะโลจิสติกส์
• คณะวิทยาการจัดการ
• คณะเทคโนโลยีสังคม
เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?
สำหรับรายวิชาเฉพาะของสาขาวิศวรรมโลจิสติกส์ที่จะได้เรียน ได้แก่ การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น
ส่วนในสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมเริ่มต้นจะได้ปูพื้นฐานทางวิศวกรรม อย่าง Material Drawing และเริ่มเจาะลึกวิชาที่จำเป็นสำหรับโทรคมนาคม เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม และจะได้ทำแล็ปเหล่านี้จนเข้าใจระบบฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ การเขียนโปรแกรม และหลังจากนั้นจะได้นพื้นฐานที่ได้เรียนมาทำแล็ปการสื่อสาร เช่น ในแล็ปดาวเทียม จะได้วัดสัญญาณดามเทียม วิเคราะห์สัญญาณต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจะได้เรียนการวิเคราะห์และแสดงออกระบบทางด้านไฟฟ้าสื่อสาร การวิเคราะห์และออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ การวิเคราะห์และออกแบบระบบเครือข่ายการสื่อสารร่วมกับอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง รวมไปถึงการประยุกต์เทคโนโลยีทางวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อใช้งานด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมดิจิทัล
ตัวอย่างเส้นทางสู่อาชีพ
• วิศวกรโลจิสติกส์
• วิศวกรด้านผู้ออกแบบ ควบคุม และการบริการโลจิสติกส์
• วิศวกรวางแผนด้านวัสดุและการผลิตในโรงงาน
• วิศวกรการบริหารจัดการ ออกแบบระบบคลังสินค้าและกระจายสินค้า
• ที่ปรึกษาด้านวิศวกรโลจิสติกส์
• ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
• ผู้ประกอบการด้านธุรกิจโลจิสติกส์
• วิศวกรโทรคมนาคม
• วิศวกรเครือข่ายสื่อสาร
• วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
• วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลายคณะ หลายสาขาที่น่าเรียน และไม่เสี่ยงตกงาน แต่ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวเลือกให้ทุกคนได้ประกอบการตัดสินใจเท่านั้น การเลือกเรียนสิ่งที่เราถนัดหรือชอบมักจะดีกับตัวเราอยู่แล้ว ขอแค่เรามุ่งมั่นและตั้งใจ เราก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ส่วนน้อง ๆ ที่ชอบสายงานเหล่านี้อยู่แล้วก็ลุยไปกันต่อได้เลย
แหล่งข้อมูล
- Top 5 คณะสายแข็ง อนาคตดี เรียนจบไม่ต้องกลัวตกงาน!
- 7 สายคณะ “ความเสี่ยงต่ำ” ไม่ตกงาน ไม่โดนแย่งงานง่ายๆ
- เรียนต่ออะไรดี ไม่เสี่ยงตกงาน ยุค New Normal
- สาขาเรียนด้าน IT ตอบโจทย์การทำงานยุคนี้และอนาคต
- 5 คณะสายวิทย์สุขภาพ จบมางานปัง!
- สาขาการตลาด ที่ไหนดี จบมาทำอะไรได้บ้าง
- รวม 10 คณะ ที่เรียนเกี่ยวกับ “เกม”
- รีวิว สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ เรียนยังไง เรียนที่ไหน จบมาทำงานอะไร
- รีวิวสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
- สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม